วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของแก้วมังกร


สรรพคุณ และ ประโยชน์ของแก้วมังกร
ผลไม้แก้วมังกรอีกหนึ่งผลไม้ที่มีคุณค่าวันนี้เราจึงขอนำความรู้เรื่องประโยชน์ของแก้วมังกรและสรรพคุณของแก้วมังกรมาบอกเล่าให้รู้คุณค่าของ ประโยชน์ของแก้วมังกร และ สรรพคุณของแก้วมังกร ที่คุณยังไม่รู้ให้ได้ตอกย้ำความรู้ยิ่งเข้าไปอีกค่ะ อนึ่งคนไทยนั้นยังไม่ค่อยนิยมผลไม้อย่างแก้วมังกรเท่ากับคนไทยเชื้อสายจีนค่ะ เพราะอาจเนื่องด้วยผลไม้แก้วมังกรนั้นเป็นผลไม้ที่ค่อนข้างราคาสูงอยู่ในขณะนี้ แม้ว่าจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงแต่เมื่อเปรียบเทียวกับ ประโยชน์ของแก้วมังกร และ สรรพคุณของแก้วมังกร แล้วก็นับว่าคุ้มค่าอยู่มิใช่น้อยค่ะ ยิ่งเป็นคุณผู้หญิงที่กำลังคิดจะลดน้ำหนักด้วยแล้วใช้ผลไม้อย่าแก้วมังกรดีนักแลค่ะ นั้นเรามดูเรื่อง ประโยชน์ของแก้วมังกรและสรรพคุณของแก้วมังกร กันเลยดีกว่าค่ะ





ผลไม้รูปร่างกลมรีขนาดใหญ่ เปลือกสีแดง เมื่อผ่าครึ่งจะเห็นเนื้อเป็นสีขาวมีเม็ดคล้ายเม็ดแมงลักฝังตัวอยู่ทั่วผล เนื้อสดหวานนุ่มชุ่มฉ่ำ เมื่อทานแล้วช่วยทำให้สดชื่นผ่อนคลายได้ดีทีเดียว

แก้วมังกรมี 2 ชนิดคือ สีขาวกับสีแดง สีแดงจะมีรสหวานกว่า ส่วนรสหวานของแก้วมังกรสีขาวเป็นหวานอ่อนๆ ที่ไม่มีพิษภัย จะมีก็แต่คนติดรสหวานที่อาจติว่าจืดชืดไปหน่อย ถ้าใครไม่ชอบก็ขอบอกว่า คุณได้พลาดผลไม้ที่มีประโยชน์สุดๆ ต่อสุขภาพและความงามไปอย่างน่าเสียดาย

ความโดดเด่นที่ทำให้สาวๆ หลายคนชอบกินผลไม้ชนิดนี้ก็เนื่องจากเป็นผลไม้ที่สามารถกินกันได้โดยไม่ต้องห่วงเรื่องไขมันและความหวานที่กลายไปเป็นไขมันสะสมในภายหลัง แถมยังกินอิ่มท้องจนทดแทนอาหารเย็น เป็นผลไม้ที่ใช้ช่วยลดน้ำหนักได้สบายๆ ทีเดียว

คุณค่าอาหารที่ซุกซ่อนอยู่ในแก้วมังกรก็มีทั้งแคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามิน บี1 บี2 บี3 แต่ที่เยอะมากสุดก็คือวิตามินซี จึงช่วยทั้งในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ กระดูกและฟันแข็งแรง รวมทั้งช่วยในเรื่องของสายตาได้ด้วย

วิธีทานก็ง่ายๆ แค่ผ่าครึ่งลอกเปลือกหรือใช้ช้อนตักเข้าปากเลยก็ได้หรือจะนำไปทำเป็นเครื่องดื่ม ใส่สลัด เสิร์ฟคู่ไอศกรีม หรือขนมหวาน แก้วมังกรก็สามารถแทรกรสชาติไปกับทุกอย่างได้กลมกลืนและกลมกล่อม

http://www.n3k.in.th/สมุนไพร/ประโยชน์ของแก้วมังกร

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บัวผุด ดอกไม้ยักษ์เเห่งอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

บัวผุด ดอกไม้ยักษ์ที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
จากการสำรวจทรัพยากรป่าไม้โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติ จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับอุทยานแหงชาติกุยบุรี สำรวจพบบัวผุด (Rafflesia kerrii Meijer) บริเวณตอนล่างของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อมูลล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่า บัวผุดไม่ได้กระจายอยู่แต่ทางภาคใต้ เพียงจังหวัดระนอง และจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น และข้อมูลดังกล่าวช่วยยืนยันความอุดมสมบูรณ์และความสำคัญของผืนป่ากุยบุรีได้เป็นอย่างดี
                                                                                                                                                                                                                                    
 











       เอกสารอ้างอิง
วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์ บัวผุด ที่ไม่ใช่เพียงดอกไม้ยักษ์สารคดีฉบับ122 เดือนเมษายน 2538นันทวรรณ สุปันตี